ส่งทำ CT-Scan และ MRI

การตรวจ CT-Scan คืออะไร ?

การตรวจ CT scan เป็นการตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายด้วยรังสีเอกซ์โดยการ ฉายรังสี เอกซ์ผ่านอวัยวะทีต้องการตรวจ แล้วใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลสร้างภาพ ซึงสามารถสร้างได้ทั้งภาพในระนาบต่างๆ หรือจะ แสดงเป็นภาพ 3 มิติ ประเภทต่างๆได้ โดยมีข้อบ่งชี้ ของการตรวจ ดังนี้

  1. ตรวจหาเนื้องอกในอวัยวะต่างๆ รวมทั้งตําแหน่งและขนาดของเนื้องอก
  2. ตรวจหาการแพร่กระจายของเนื้องอกไปยังต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้เคียง
  3. ตรวจดูการคั่งของเลือดในสมอง ช่องท้อง และอุ้งเชิงกราน
  4. ตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือด เช่น เส้นเลือดโป่งพอง เส้นเลือดอุดตัน เป็นต้น
  5. ตรวจหาความผิดปกติของกระดูก และข้อต่อต่างๆ เช่น การหัก การหลุด และการอักเสบ เป็นต้น

ปัจจุบันการตรวจ CT scan แบ่งเป็น 4 ระบบ ดังนี้

  1. ระบบสมอง ได้แก่ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของสมอง ต่อมใต้สมอง ตา ต่อมน้ำลาย และคอ เป็นต้น ใน การตรวจนี้ จะต้องฉีดสารทึบรังสีเข้าทางหลอดเลือดดํา เพื่อช่วยให้เห็นพยาธิสภาพของโรคชัดเจนขึ้น
  2. ระบบช่องท้องและทรวงอก ได้แก่ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ภายในช่องท้องและอุ้งเชิงกราน การตรวจ ระบบนี้ เจ้าหน้าที่อาจแนะนําให้ผู้ป่วยดื่มสารทึบรังสี/น้ำเปล่า ในบางกรณีอาจมีการสวนสารทึบรังสี/น้ำเปล่า เข้าทางทวาร หนัก เพื่อแยกลําไส้ออกจากเนื้อเยื่ออื่นๆ และ ในผู้ป่วยหญิงอาจต้องใส่ผ้าอนามัยชนิดสอดภายในช่องคลอด เพื่อแยกช่อง คลอดออกจากเนื้อเยื่ออื่นๆ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของรังสีแพทย์ นอกจากนี้ ยังจําเป็นต้องฉีดสารทึบรังสีเข้าทางหลอดเลือดดําเพือช่วยให้เห็นพยาธิสภาพของโรคชัดเจนขึ้น
  3. ระบบกระดูก กล้ามเนื้อ ข้อต่อและกระดูกสันหลังซึ่งมักใช้ในการวินิจฉัยโรคเนื้องอกของกล้ามเนื้อ กระดูก หรือการอักเสบของข้อต่อต่างๆ และลักษณะทางกายวิภาคของกระดูกสันหลัง โดยสามารถให้การวินิจฉัยโรคกระดูกได้ดีกว่า การตรวจเอกซเรย์ทั่วไป
  4. ระบบหลอดเลือด ได้แก่ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือด แดงใหญ่ หลอดเลือดแดงของไต และหลอดเลือดแดงที่ขา เป็นต้น ในการตรวจนี้จําเป็นต้องฉีดสารทึบรังสีเข้าทางหลอดเลือดดํา

ก่อนรับการตรวจ CT scan ผู้ป่วยจะได้รับการแนะนําให้เตรียมตัว ดังนี้

  1. งดอาหารอย่างน้อย 4 -6 ชัวโมงก่อนการตรวจ(ดื่มน้ำเปล่าได้)
  2. ลงชื่อในใบยินยอมให้แพทย์ทําการตรวจและฉีดสารทึบรังสี
  3. ในผู้ป่วยเด็กทีไม่สามารถอยู่นิ่งๆได้ แพทย์อาจจําเป็นต้องให้ยาระงับความรู้สึกหรือดมยาสลบขณะตรวจ เพื่อผล การตรวจวินิจฉัยโรคถูกต้องยิงขึ้น
  4. ผู้ที่มีโรคประจําตัว เช่น หอบหืด ภูมิแพ้ โรคไต โรคหัวใจและโรคเบาหวาน ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที ในวันตรวจ ควรมีญาติมาด้วยอย่างน้อย 1 คน
  5. เปลี่ยนเสื้อผ้าที่ห้องตรวจเตรียมไว้ให้ และถอดเครื่องประดับออกจากบริเวณทีต้องการตรวจ
  6. ในกรณีที่ผู้ป่วยตรวจภายในช่องท้อง อาจจําเป็นต้องดื่มสารทึบรังสีหรือน้ำเปล่าทีเจ้าหน้าที่จัดเตรียมไว้ให้ ประมาณ 1 ลิตร ก่อนเข้าห้องตรวจ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบริเวณที่ต้องการตรวจ
  7. สตรีที่สงสัยว่าจะตั้งครรภ์ ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนเข้ารับการตรวจ เนื่องจากการตรวจทางรังสีมีผลกระทบ ต่อทารกในครรภ์

ขั้นตอนขณะรับการตรวจ

  1. เจ้าหน้าที่จะเรียกชื่อ-นามสกุลผู้ป่วยให้เข้าห้องตรวจตามลําดับความพร้อมตรวจในแต่ละประเภทการตรวจและ จัดท่าของผู้ป่วยให้เหมาะสมกับประเภทการตรวจ ในกรณีที่ผู้ป่วยทําการตรวจช่องท้องส่วนล่าง จะได้รับการสวนสารทึบรังสี เข้าทางทวารหนักประมาณ 300 ซีซี.
  2. เจ้าหน้าที่/นักรังสีเทคนิค จะทําการซักประวัติผู้ป่วยซ้ำและให้คําแนะนําการปฏิบัติตัวขณะตรวจ รวมถึงชี้แจงข้อมูลที่ผู้ป่วยจําเป็นต้องทราบเกี่ยวกับการตรวจ เช่น ผลของสารทึบรังสีทีฉีดเข้าทางหลอดเลือด ความรู้สึกที่อาจเกิดขึ้นขณะฉีด
  3. ในระหว่างตรวจจะได้ยินเสียงดังจากเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ผู้ป่วยควรนอนให้นิ่งและปฏิบัติตามคําแนะนํา ของนักรังสีเทคนิคอย่างเคร่งครัด
  4. หากมีอาการผิดปกติ เช่น แน่นหน้าอก หายใจลําบาก มีผืนคัน คลื่นไส้อาเจียน ต้องบอกเจ้าหน้าที่หรือพยาบาลให้ ทราบทันที

การปฏิบัติตัวหลังการตรวจ CT sca

  • ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ตามปกติ และควรดื่มน้ำอย่างน้อย 1-2 ลิตรภายใน 24 ชั่วโมง เพือช่วยขับสารทึบรังสี ออกจากร่างกายโดยเร็ว
  • หลังตรวจ ผู้ป่วยต้องนั่งรอบที่บริเวณที่จัดให้เป็นเวลา 15 นาทีหลังจากฉีดสารทึบรังสี เพือสังเกตอาการถ้ามีอาการ ผิดปกติ

ผลการตรวจ

        ผู้ป่วยมาตรวจตามวันที่แพทย์นัดหมายตามคลินิกต่างๆไม่ต้องมารับผลการตรวจที่แผนกเอกซเรย์ โดยผลการตรวจ จะถูกส่งเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ซึ่งแพทย์ผู้ตรวจสามารถเรียกดูผลการตรวจและภาพเอกซเรย์ผ่านระบบ คอมพิวเตอร์ที่ห้องตรวจ การรับผลตรวจออกนอกโรงพยาบาลสามารถทําได้โดยการติดต่อที่แผนกเอกซเรย์

ข้อควรระวังของการตรวจด้วยเครื่อง CT scan

  • ผู้ที่มีประวัติโรคภูมิแพ้ หอบหืด มีประวัติผื่นขึ้นภายหลังรับประทานอาหารทะเล หรือมีอาการแน่น หายใจไม่ออก และผู้ทีมีประวัติแพ้สารทึบรังสี ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่/พยาบาลทราบก่อน
  • สตรีทีตั้งครรภ์
  • ผู้ป่วยทีมีปัญหาโรคไต

ตรวจ MRI คืออะไร

       Magnetic Resonance Imaging หรือ MRI คือ เครื่องมือในการตรวจหาความผิดปกติของร่างกาย โดยใช้เครื่องสนามแม่เหล็ก และคลื่นความถี่วิทยุ สร้างภาพที่มีความละเอียดสูง ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ละเอียดยิ่งขึ้น ส่วนผู้ป่วยก็ไม่ได้รับผลกระทบจากรังสีจากการเอกซเรย์ เช่น MRI สมอง MRI กระดูกสันหลัง เป็นต้น

การทำงานของเครื่อง MRI

          เครื่อง MRI ประกอบด้วยแม่เหล็กซึ่งมีไฮโดรเจนอะตอม เมื่อร่างกายอยู่ท่ามกลางสนามแม่เหล็ก ร่างกายก็จะมีโมเลกุลของน้ำ เครื่อง MRI ส่งสัญญาณวิทยุ เข้าไปกระตุ้นอวัยวะ ทำให้เกิดการกำทอน (Resonance) ตามหลักการของฟิสิกส์ เมื่อเครื่องหยุดการส่งสัญญาณวิทยุแล้ว ร่างกายก็จะปล่อยไฮโดรเจนอะตอม เข้าสู่อุปกรณ์เข้ารับสัญญาณ ออกมาเป็นสัญญาณภาพบนจอ

MRI ตรวจส่วนไหนของร่างกาย

  • MRI สมอง สามารถตรวจได้ทุกเพศ ทุกวัย แม้ว่าจะไม่มีอาการทางสมอง โดยตรวจเนื้อสมอง และเส้นเลือดสมอง หากมีอาการปวดหัว ความจำเสื่อม มึนหัว อาเจียน เห็นภาพซ้อน  ควรมาตรวจ MRI สมอง
  • MRI ช่องท้อง และกระดูกเชิงกราน สามารถตรวจได้ทุกเพศ ทุกวัย หรือหญิงตั้งครรภ์ ตรวจหาเนื้องอก มะเร็งตับ นิ่ว ความผิดปกติของมดลูก และต่อมลูกหมาก
  • MRI กระดูกสันหลัง สามารถตรวจให้เห็นถึง หากมีอาการปวดหลัง แขนขาอ่อนแรง อั้นปัสสาวะ อุจจาระไม่ได้ หรือผู้ที่ประสบอุบัติเหตุมีปัญหา เรื่องหมอนรองกระดูก ควรมาตรวจ MRI กระดูกสันหลัง เพื่อแพทย์จะได้วางแผนในการรักษา
  • MRI กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อ สามารถตรวจให้เห็นถึงการฉีกขาดของกล้ามเนื้อ ในกระดูก หรือการฉีกขาดของกระดูกอ่อน ทำให้วางแผนการรักษา น้ำในเข่า ข้อศอก หรือข้อนิ้ว
  • MRI เส้นเลือด สามารถตรวจเส้นเลือดดำ และเส้นเลือดแดง เพื่อหาความผิดปกติของการไหลเวียนเลือด

วิธีการตรวจ MRI

  • เมื่อผู้ป่วยนอนลงบนเตียง เจ้าหน้าที่จะจัดตำแหน่งท่านอน และติดแถบรัดกันผู้ป่วยขยับ
  • ติดเครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ที่ด้านซ้ายของหน้าอก และติดเครื่องวัดการหายใจไว้ที่หน้าท้อง
  • ระหว่างการตรวจจะมีเจ้าหน้าที่แจ้งผู้ป่วยให้กลั้นหายใจ ไม่เกิน20 วินาที เป็นระยะๆ
  • ผู้ป่วยที่รับการฉีดสารทึบรังสีจะต้องตรวจเลือดหาการทำงานในไต ก่อนตรวจ MRI หลังจากนั้นแพทย์จะฉีดสารทึบรังสีเข้าที่เส้นเลือดดำ

การเตรียมตัวก่อน และหลังตรวจ MRI

  • ถ้าเป็นการตรวจ MRI ช่องท้อง และกระดูกเชิงกราน ต้องงดน้ำ และอาหาร 4-6 ชั่วโมง ตรวจ MRI ส่วนอื่นๆไม่ต้องงด
  • ผู้ป่วยต้องใส่ชุดของทางโรงพยาบาล ไม่แต่งหน้า ไม่นำเครื่องประดับที่ทำจากโลหะเข้าไป เช่น นาฬิกาข้อมือ แหวน สร้อย เข้าไปขณะตรวจ เพราะจะทำให้ภาพที่สแกนออกมาไม่ชัดเจน
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคกลัวที่แคบ แพทย์อาจจะมีการให้ยาสลบก่อนตรวจ
  • ใช้เวลาในการตรวจ 45 นาที – 3 ชั่วโมง แล้วแต่กรณี
  • หลังจากตรวจเสร็จแล้ว แพทย์จะวินิจฉัยจากภาพอวัยวะภายในของผู้ป่วย และแจ้งให้ผู้ป่วยทราบ

MRI กับ CT SCAN

  • MRI จะเป็นการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เหมาะแก่การหาเนื้อเยื่อในร่างกาย เพราะ มีน้ำที่ช่วยให้เครื่องตรวจจับสัญญาณได้ดี ไม่ต้องใช้รังสี สารทึบแสงที่ใช้ คือ Gadolinnium ไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของตับ และไต
  • CT SCAN จะเป็นการใช้รังสีX ในการเอ็กซเรย์ เหมาะแก่การตรวจกระดูก เพราะเป็นส่วนที่ไม่มีน้ำหล่อเลี้ยง ใช้เวลาตรวจเพียง 10-15นาที สารทึบแสงที่ใช้มีส่วนประกอบของไอโอดีน ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคไต

MRI กับ โรคกลัวที่แคบ

      การตรวจ MRI ของผู้ป่วยโรคกลัวที่แคบ จะมีเจ้าหน้าที่คอยแนะนำ สร้างความผ่อนคลาย และประเมินอาการผู้ป่วยก่อนตรวจ บางกรณีสามารถนำญาติเข้าไปอยู่ได้ หรือถ้าเป็นอาการหนัก  แพทย์จะให้ยาคลายเครียดแก่ผู้ป่วยโรคกลัวที่แคบ ก่อนตรวจ MRI

     การตรวจ MRI นั้นมีข้อดีหลายอย่าง แต่ต้องแลกกับการเสียเวลาตรวจที่นานกว่า และราคาที่สูงขึ้นเมื่อเทียบการตรวจอื่นๆ แต่ความคุ้มค่าของสุขภาพร่างกายนั้น เทียบไม่ได้ กับเงินทอง  และเวลาอันน้อยนิดที่เสียไป

บุคคลที่ควรพึงระวัง...ในการตรวจ MRI

  • ผู้ป่วยที่กลัวอยู่ในที่แคบ ไม่สามารถนอนในอุโมงค์ตรวจได้ (claustrophobic)
  • ผู้ที่ใส่ Stent ที่หลอดเลือดหัวใจ
  • ผู้ที่เตรียมตัวเข้ารับการผ่าตัดสมอง ตา หรือหู ซึ่งจะต้องฝังเครื่องมือทางการแพทย์ไว้
  • ผู้ที่ใส่เหล็กดัดฟันต้องถอดเหล็กดัดฟันออกก่อน รวมทั้งผู้ที่สงสัยหรือประกอบอาชีพเกี่ยวข้องกับโลหะ ว่าอาจมีโลหะชิ้นเล็กๆ กระเด็นเข้าลูกตา นอกจากโลหะจะมีผลต่อความชัดของภาพแล้ว เมื่อเหล็กเข้าไปอยู่ในสนามแม่เหล็กอาจมีการเคลื่อนที่ของโลหะชิ้นนั้นซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายได้

          “การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI เป็นเทคโนโลยีด้านการแพทย์ที่มีความทันสมัยก็จริง แต่ผู้เข้ารับการตรวจต้องปฏิบัติตามกฎ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้ผลตรวจที่ถูกต้องและแม่นยำที่สุด”